ในวัฒนธรรมต่าง ๆ ของ นกกางเขน

รูปปั้นนกที่จตุรัสนกกางเขน (Doyel Chatwar) มหานครธากา ประเทศบังกลาเทศ

ในอดีต คนอินเดียได้เลี้ยงนกกางเขนเพราะมีเสียงเพราะและเพื่อการตีนก[40] และปัจจุบันก็ยังเป็นนกที่ถูกจับมาเลี้ยงในบางส่วนของเอเชียอาคเนย์

นกกางเขนเป็นนกประจำชาติของประเทศบังกลาเทศซึ่งมีนกอยู่ทั่วไปอย่างสามัญโดยเรียกว่า Doyel หรือ Doel (เบงกอล: দোয়েল)มีการใช้เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในประเทศ รวมทั้งบนธนบัตร มีจุดสำคัญในมหานครธากาที่เรียกว่า Doyel Chatwar แปลว่า จตุรัสนกกางเขน

นกกางเขนเป็นสัญลักษณ์ของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (Bird Conservation Society of Thailand) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529[6] และในวัฒนธรรมปักษ์ใต้ของไทย โดยเฉพาะเพลงร่วมสมัย มักจะมีการอ้างอิงถึงนกกางเขนบ่อย ๆ โดยเรียกว่า "นกบินหลา" ด้วยเป็นนกที่รักและหวงถิ่นฐาน เหมือนคนใต้รักถิ่นที่อยู่[41]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกกางเขน http://www.environment.gov.au/biodiversity/trade-u... http://banglapedia.search.com.bd/HT/M_0038.htm http://docsdrive.com/pdfs/academicjournals/ijzr/20... http://ibc.lynxeds.com/species/oriental-magpie-rob... http://pantip.com/topic/31882671 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13918345 http://www.afcd.gov.hk/english/quarantine/qua_vetl... http://www.iisc.ernet.in/currsci/jan102001/77.pdf http://www.nepjol.info/index.php/ON/article/viewFi... http://www.oknation.net/blog/plains-wanderer/2013/...